แผงโซลาร์เซลล์ทำมาจากอะไร ?

แผงโซลาร์เซลล์ทำมาจากอะไร ?

การผลิตแผงโซลาร์เซลล์ในปัจจุบัน นิยมใช้ซิลิคอน (Si) ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลกมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ เพื่อใช้เป็นวัสดุสำคัญในการผลิตแแผงโซลาร์เซลล์ นอกจากนี้ ยังมีวัสดุอื่นๆ ที่สามารถนำมาผลิตโซลาร์เซลล์ได้ เช่น แกลเลี่ยม อาร์เซไนด์ (Gallium Arsenide), อินเดียม ฟอสไฟด์ (Indium Phosphide), แคดเมียม เทลเลอไรด์ (Cadmium Telluride) และคอปเปอร์ อินเดียม ไดเซเลไนด์ (Copper Indium Diselenide) เป็นต้น

แผงโซลาร์เซลล์ ประกอบด้วย 2 เลเยอร์ คือ

1) N-Type คือ แผ่นซิลิคอนที่ผ่านกระบวนการโดปปิ้งด้วยสารฟอสฟอรัส ทำให้มีคุณสมบัติเป็นตัวส่งอิเล็กตรอน เมื่อได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์

2) P-Type คือ แผ่นซิลิคอนที่ผ่านกระบวนการโดปปิ้งด้วยสารโบรอน ทำให้โครงสร้างของอะตอมสูญเสียอิเล็กตรอน (โฮล) เมื่อได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ จะมีคุณสมบัติเป็นตัวรับอิเล็กตรอน ซึ่งเมื่อนำซิลิคอนทั้ง 2 ชนิด มาประกบต่อกันด้วย p – n junction จึงทำให้เกิดเป็น ”โซลาร์เซลล์”

หลักการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์ คือ เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบ แสงอาทิตย์จะถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอน และโฮล ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวขึ้น โดยอิเล็กตรอน ก็จะเคลื่อนไหวไปรวมตัวกันที่ Front Electrode และโฮลก็จะเคลื่อนไหวไปรวมตัวกันที่ Black Electrode และเมื่อมีการเชื่อมต่อระบบจนครบวงจรขึ้น ก็จะเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าให้เราสามารถนำไปใช้งานได้

ขอบคุณข้อมูลจาก Environman

บทความที่น่าสนใจ

Irradiance Solar จับมือ Clenergy ลุยตลาด Solar Farm ตอบรับโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าภาครัฐ

Irradiance Solar จับมือ Clenergy ลุยตลาด Solar Farm ตอบรับโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าภาครัฐ (กลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพล

อ่านต่อ »

วิธีคำนวนกำลังติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับบ้าน แบบมือโปร

วิธีคำนวนกำลังการติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับบ้าน ต้องทำการจดหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่มิเตอร์ ว่าใช้ไฟฟ้าอยู่ที่กี่หน่วยในช่วงเวลาท

อ่านต่อ »